Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel

รร.ตชด.บ้านท่าวังหิน

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน

หมู่ที่ ๔ บ้านท่าวังหิน ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประวัติความเป็นมา

       1.ประวัติความเป็นมา/ก่อตั้ง/การเสด็จฯเยี่ยม

        ประวัติของโรงเรียน

              โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหินตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77120 มีพื้นที่รวม 40 ไร่ เมื่อ 22พฤษภาคม พ.ศ.2532ตั้งเป็นโรงเรียนชั่วคราวอาศัยศาลาการเปรียญสำนักสงฆ์ท่าวังหิน เป็นสถานที่ให้ความรู้แก่เด็กในหมู่บ้านและเด็กในพื้นที่ใกล้เคียงสาเหตุที่ต้องแยกสาขาออกมาสืบเนื่องมาจากประชาชนเห็นว่าการให้บุตรหลานเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าวเป็นระยะทางประมาณ 4 - 5กิโลเมตร ต้องข้ามแม่น้ำปราณบุรี  ซึ่งมีความยากลำบากในการเดินทาง บางครั้งฝนตกหนักเด็กนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้ เนื่องจากอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากประชาชนและคณะกรรมการหมู่บ้านจึงลงความเห็นให้แยกสาขาออกมา โดยได้ทำการสำรวจเด็กที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ และเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำปราณบุรี และคนละหมู่บ้านของหมู่บ้านเขาจ้าว ให้ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหินโดยทำหนังสือร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่14อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เปิดทำการสอนมีนักเรียน จำนวน 53คน   มีครูตำรวจตระเวนชายแดน 3นาย   เปิดทำการสอนตั้งแต่  ชั้นเด็กก่อนวัยเรียน  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

                   เมื่อปี พ.ศ. 2535  ประชาชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน จึงได้ปรึกษาหารือกันเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น โดยขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านท่าวังหิน จำนวน 40ไร่ (เขตปลอดภัยในราชการทหาร “ค่ายธนะรัชต์” อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) และได้ทำการก่อสร้างอาคารถาวรขึ้น จำนวน 1หลัง 7ห้องเรียน ได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียนและผู้มีจิตศรัทธามอบวัสดุ อุปกรณ์ให้  เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จได้มาทำการจัดการเรียนการสอนที่อาคารถาวร เมื่อวันที่  22 พฤษภาคม พ.ศ.2536จนถึงปัจจุบัน  และได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2540มีอาคารประกอบการ 5 อาคารหลัก  คือ  อาคารเรียนถาวร จำนวน 1หลัง 7ห้องเรียน ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และคณะกรรมการหมู่บ้าน  และผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดสร้าง  อาคารเอนกประสงค์  จำนวน 1หลัง ซึ่งการก่อสร้างอาคาร ได้รับความร่วมมือจากคุณสุชาติ - คุณวันทนี ศรีทองกิติกุล ราษฎรตลาดปราณบุรีได้มอบอาคารเรียนเก่าที่ได้ทำการรื้อถอนเพื่อจัดสร้างเป็นอาคารเอนกประสงค์ประจำโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน อาคารโรงอาหาร โรงครัว จำนวน ๑ หลัง  ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกันจัดสร้างอาคารสหกรณ์จำนวน1หลังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสหกรณ์ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์    อาคารเรียนต้นกล้าอาวียองซ์  จำนวน  1  หลัง 4  ห้องเรียน สร้างโดยบริษัท ยูนิลีเวอร์  ไทย  เทรดดิ้ง  จำกัด 

                  ปัจจุบันเปิดทำการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 100  คน เป็นชาย 54 คน เป็นหญิง 46 คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน 7 คน ผู้ดูแลเด็กเล็ก  2คน  ครูคู่พัฒนา 1 คน โดยมี ร.ต.ท.นพดล หอมเมือง ทำหน้าที่ครูใหญ่

                  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน จำนวน ๔ ครั้ง

                        ครั้งที่ ๑   เมื่อวันที่ ๖   สิงหาคม      พ.ศ. ๒๕๔๑     ครั้งที่  (๒๑๘)

                        ครั้งที่ ๒   เมื่อวันที่๒๘  กรกฎาคม   พ.ศ. ๒๕๔๙     ครั้งที่  (๔๕๔)

                        ครั้งที่ ๓   เมื่อวันที่๑๒  มกราคม      พ.ศ. ๒๕๕๓     ครั้งที่  (๕๗๘)

                        ครั้งที่ ๔   เมื่อวันที่๑๔  มกราคม      พ.ศ. ๒๕๕๘    ครั้งที่  (๗๖๗)

      2.ที่ตั้ง พิกัด ละติจูด/ลองติจูด

            หมู่บ้านท่าวังหินหมู่ที่4ตำบลเขาจ้าว    อำเภอปราณบุรี    จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พิกัด  NP790664  ละติจูด 12.3593717 / ลองจิจูด99.7266678

      3. ระดับชั้นเรียนทีเปิดสอน

             ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6    โดยใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

 

  1. ข้อมูลจำนวนนักเรียน แยกชาย- หญิง ระดับชั้นที่เปิดสอน

ระดับชั้น

จำนวนนักเรียน (คน)

ชาย

หญิง

รวม

อนุบาล 1

11

8

19

อนุบาล 2

9

6

15

อนุบาล 3

-

-

-

รวมชั้นอนุบาล

20

14

34

ประถมศึกษาปีที่ 1

7

6

13

ประถมศึกษาปีที่ 2

5

3

8

ประถมศึกษาปีที่ 3

3

10

13

ประถมศึกษาปีที่ 4

5

3

8

ประถมศึกษาปีที่ 5

8

5

13

ประถมศึกษาปีที่ 6

6

5

11

รวมชั้นประถมศึกษา

34

32

66

รวมนักเรียนทั้งหมด

54

46

100


      5.
ชื่อผู้บริหาร ครูใหญ่/เบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้

            ร.ต.ท.นพดล   หอมเมือง   โทร  098-5825408

      6.ข้อมูลจำนวนครูและบุคลากรในโรงเรียน

            ครู  ตชด. 7 คน  ผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน   ครูคู่พัฒนา 1คน

      7.ข้อมูลโครงการพระราชดำริที่สำคัญในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน

          1.โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

          ความเป็นมา

         เป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2523 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันทำการเกษตรในโรงเรียน แล้วนำผลผลิตที่ได้ มาประกอบเป็นอาหารกลางวัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงิน สิ่งของ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตร และอุปกรณ์การประกอบอาหารให้แก่โรงเรียนในโครงการ การดำเนินงานของโครงการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันแล้ว ยังทำให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้ด้านโภชนาการและด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป

              วัตถุประสงค์  เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ  บริโภคตลอดปีการศึกษาโดยใช้ผลผลิตการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร

         กิจกรรมที่สำคัญ   

  1. 1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
  2. 2. ผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ทั้งเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง พืชผักและผลไม้ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่นโดยเฉพาะกล้วยและมะละกอ โดยใช้รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานและชีววิธี ให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียน
  3. 3. ส่งเสริมการถนอมอาหารที่มีเหลือใช้ เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูขาดแคลน
  4. 4. ประกอบอาหารกลางวันและอาหารเสริมที่มีคุณค่า และถูกสุขลักษณะ
  5. 5. เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ รวมทั้งการตรวจสุขภาพและปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียนและของชุมชน
  6. 6. จัดการเรียนการสอนเรื่องการเกษตรและโภชนาการในโรงเรียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ

 

                                              

        2.โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

        ความเป็นมา

            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงปัญหาการระบาดของโรคคอพอกเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีนทั้งจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขและจากการที่พระองค์ทรงพบเห็นในระหว่างเสด็จฯไปทรงเยี่ยมเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจึงมีพระราชดำริที่จะดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ โดยคาดหวังว่า หากมีการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องแล้ว ก็จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศโดยส่วนรวมได้

        วัตถุประสงค์          เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ทุรกันดาร 

        กิจกรรมที่สำคัญ      

       1.หยดน้ำเสริมไอโอดีนให้นักเรียนดื่มเป็นประจำทุกวัน

       2.แจกเกลือไอโอดีนให้นักเรียนไปประกอบอาหารที่บ้าน

       3.ร่วมมือกับสาธารณสุขในพื้นที่ตรวจโรคคอพอกและให้ความรู้แก่ประชาชน

                                           

     3.โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร 

      ความเป็นมา

       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงห่วงใย เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารและได้โปรดเกล้าฯให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฉบับแรกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการทำงานพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ได้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๙) เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชนผลักดันให้สถานศึกษาพัฒนาเป็นศูนย์บริการความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้กับผู้ปกครองชุมชน

         เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 สมเด็จพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดการประชุม และ  มีพระราชดำรัส ความว่า “สุขภาพของเด็กและเยาวชนเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ...ควรได้รับการดูแลทั้งด้านสุขภาพร่างกายสุขภาพจิตใจ เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียน และมีความคิดเห็นอันเหมาะควร ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ควรจะต้องช่วยกันประคับประคองดูแล เช่น ในด้านสุขอนามัย การรักษาพยาบาล  โภชนาการ เป็นที่ปรึกษาแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จะช่วยทางด้านจิตใจ ที่สำคัญจะต้องดูแลให้ทั่วถึงไปจนถึงเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมากในถิ่นทุรกันดาร เด็กและเยาวชนเหล่านี้ หากได้รับการดูแลให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ในภายภาคหน้าจะสามารถเป็นกำลังช่วยเหลือครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี....”

วัตถุประสงค์          เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์  หญิงให้นมบุตร และเด็กทารกแรกเกิดจนถึง 3 ปี  ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้รับบริการที่เหมาะสมและได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 
กิจกรรมที่สำคัญ    ร่วมกับ จนท.อนามัย ในพื้นที่ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอนามัยแก่หญิงมีครรภ์  และ สสน. อาหารเสริม  วิตามิน ให้กับหญิงมีครรภ์

 

                                            

      4.โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา 

        ความเป็นมา         

             เป็นโครงการที่ดำเนินการขี้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งประสบกับความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาการอย่างดี พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้เท่าเทียมกับคนอื่นๆ และช่วยให้ครูโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งไม่ได้มีอาชีพครูโดยตรงทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       วัตถุประสงค์         เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน 
       กิจกรรมที่สำคัญ  ปรับปรุงอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เกื้อหนุนในการเรียนการสอน,  จัดกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน ,  พร้อมให้นักเรียนศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

 

                                           

      5.โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ 

      ความเป็นมาของทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์

            โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเริ่มดาเนินการเมื่อปีพ.ศ. 2531 ส่งเสริมให้นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับแต่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อเนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนได้มีโอกาสศึกษาในระดับสูงขึ้นเพื่อให้มีความรู้ทักษะและประสบการณ์สาหรับใช้ในการประกอบอาชีพและนากลับไปพัฒนาท้องถิ่น

      วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนจากโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นตามความสามารถและความเหมาะสมตามระดับสติปัญญา
  2. เพื่อให้นักเรียนจากถิ่นทุรกันดารสามารถนาความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
  3. เพื่อปลูกฝังและพัฒนานักเรียนโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้เห็นคุณค่าของการศึกษาความสานึกในความเป็นคนไทยมีความรักถิ่นฐานรักประเทศและรักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข
  4. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนตามโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญก้าวหน้าทั่วกัน

       กิจกรรมที่สำคัญ  คัดเลือกนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 เข้าเป็นนักเรียนพระราชานุเคราะห์ 

 

                                          

      

      6.โครงการฝึกอาชีพ 

        ความเป็นมา

                เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอาชีพให้กับศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ไม่อาจศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และเน้นให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ ในระยะเริ่มแรกให้จัดทำในโรงเรียนทดลองก่อนภาคละ ๑ โรง โดยมีกรมอาชีวศึกษา(ขณะนั้น) รับไปสนองพระราชดำริฯ

        วัตถุประสงค์      

                ๑. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ

                ๒. เพื่อให้เยาวชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมีวิชาชีพติดตัวและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

        กิจกรรมสำคัญ

                ๑. ฝึกทักษะและความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน

                ๒. ส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น

                ๓. ส่งเสริมความร่วมมือจากภาคเอกชน

                ๔. ดำเนินงานฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

 

                                          

 

       7.โครงการส่งเสริมสหกรณ์

          ความเป็นมา

                    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่า การปลูกฝังสหกรณ์แก่เด็กและเยาวชน โดยเริ่มจากโรงเรียนเป็นอันดับแรก จะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในกลุ่มของเด็กนักเรียน  ตลอดจนครูและประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การรวมกลุ่มกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมตำรวจ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภู่ต่าง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์  เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔  ให้ดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔  ให้ส่งเสริมวิธีสหกรณ์ให้แพร่หลายไปยังเด็กนักเรียน จึงได้เริ่มดำเนินโครงการการส่งเสริมสหกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมางการส่งเสริมสหกรณ์ 


             วัตถุประสงค์    เพื่อส่งเสริมความรู้  ทักษะด้านสหกรณ์  และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับ อุดมการณ์สหกรณ์ให้แก่เด็กนักเรียน 
             กิจกรรมที่สำคัญ   

                ๑. จัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์

                ๒. จัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ภาคปฏิบัติ เช่น กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมการเกษตร เพื่อเป็นการฝึกทักษะของนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน

                ๓. จัดให้มีการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสหกรณ์ตัวอย่าง

 

                         

       

        8.ภาพถ่ายโรงเรียนและภาพประกอบกิจกรรมตามโครงการ

         ภาพอาคารเรียน

                          

       กิจกรรมปลูกผัก

                    

       9.ผลิตภัณฑ์ตามโครงการฝึกอาชีพ

                                    

        10.ภาพถ่ายรับเสด็จฯตรวจเยี่ยมโรงเรียน

                                    

                                  

 

    

 

 

แผนที่ รร.ตชด.บ้านท่าวังหิน