โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว
หมู่ที่ ๑ บ้านเขาจ้าว ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1.ประวัติความเป็นมา/ก่อตั้ง/การเสด็จฯเยี่ยม
ประวัติของโรงเรียน
เดิมหมู่บ้านเขาจ้าว ตั้งอยู่หมู่ 8 ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ 100ครัวเรือน การคมนาคมเข้าหมู่บ้านไม่สะดวก ระยะทางจากอำเภอปราณบุรีถึงหมู่บ้านเขาจ้าว ประมาณ36 กิโลเมตร ภายในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียนทำให้เด็กไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนราษฎรในหมู่บ้านได้ปรึกษากันและส่งตัวแทนเดินทางไปยัง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7 (ปัจจุบัน กก.ตชด.13) โดยมี พันตำรวจเอกสันติ อุดมศักดิ์(ยศขณะนั้น)ดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7เพื่อให้ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7 ได้ให้ความช่วยเหลือจัดคณะครูตำรวจตระเวนชายแดนพร้อมอุปกรณ์การเรียนการสอน
เมื่อ พ.ศ. 2519 พระวิภาค โฆสธัมโม หัวหน้าคณะสงฆ์ถ้ำเขาข้าว ได้ยกที่ดินของสำนักสงฆ์ถ้ำเขาจ้าว จำนวน 21 ไร่ ให้กับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7 (เดิม) เพื่อจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าวเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2521 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7 ได้จัดส่งครูตำรวจชายแดนเปิดทำการเรียนการสอนโดยอาศัยศาลาการเปรียญสำนักสงฆ์ถ้ำเขาจ้าวเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีนักเรียนจำนวน 51 คน ชาย 26 คน หญิง 25 คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน 2 นาย โดย จ่าสิบตำรวจประกอบ แถมจอหอ เป็นครูใหญ่
ในปี พ.ศ. 2522 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7 ได้ดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปลอดภัยในราชการทหารต่อกองทัพบกและได้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว (อ้าง น. กก.ตชด.14 ที่ 0024.14/256 ลง 24 มกราคม 2544) ในปี พ.ศ. 2523 หน่วยพลเรือนตำรวจทหาร(พตท.1122)ร้อย 111 ได้ดำเนินการจัดหาทุนและก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง 3 ห้องเรียน กว้าง 8.50 เมตร ยาว 27 เมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 48,600บาท
ในปี พ.ศ.2528คณะอาจารย์และนิสิตนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทที่หมู่บ้านเขาจ้าว ได้มอบเงิน 6,000 บาท ให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อสร้างอาคารเรียนแต่ยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ ต่อมาได้รับเงินบริจาค จากคุณ เจริญ สุวรรณเตมีย์ จำนวน 100,000 บาท จัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง 3 ห้องเรียน กว้าง 8.50 เมตร ยาว 27 เมตร
ในปี พ.ศ.2539 ได้มีพระราชบัญญัติแบ่งส่วนราชการกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 ได้แยกออกจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7 โดยมี พันตำรวจเอกสุนทร อรุณมาศ (ยศขณะนั้น)ดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14
ในปีพ.ศ. 2533 คณะอาจารย์และนิสิตนำศึกษาจากสถาบันราชภัฏเพชรบุรี ได้ออกค่ายอาสาพัฒนา จัดสร้างสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์และสนามวอลเลย์บอลให้กับโรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2535 หมู่บ้านบ้านเขาจ้าว ได้รับการจัดตั้งเป็นตำบล ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน หมู่ที่1 บ้านเขาจ้าว หมู่ที่2 บ้านวังปลา หมู่ที่3 บ้านท่าทุ่ง หมู่ที่4 บ้านท่าวังหิน หมู่ที่5 บ้านเขากระทุ่น และหมู่ 6 บ้านแพรกตะลุย โดยมีนายไพรวัลย์ บุญล้อมเป็นกำนันตำบลเขาจ้าว
ในปี พ.ศ.2539 ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือรถไฟมักกะสัน ได้สนับสนุนเงินก่อสร้างอาคารเรียน(อาคารฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี)งบประมาณ 290,000 บาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามงานโครงการตามพระราชดำริ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว จำนวน ๔ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่๔ กันยายน ๒๕๓๙
ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓
ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
2.ที่ตั้ง พิกัด ละติจูด/ลองติจูด
บ้านเขาจ้าวหมู่ที่1 ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พิกัด NP765665 ละติจูด ๑๒.๓๖๓๓๓๘ ลองติจูด ๙๙.๖๙๙๗๙๗
3. ระดับชั้นเรียนทีเปิดสอน
ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ
4.ข้อมูลจำนวนนักเรียน แยกชาย- หญิง ระดับชั้นที่เปิดสอน
ระดับชั้น |
จำนวนนักเรียน (คน) |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
อนุบาล 1 |
5 |
10 |
15 |
อนุบาล 2 |
4 |
6 |
10 |
รวมชั้นอนุบาล |
9 |
16 |
25 |
ประถมศึกษาปีที่ 1 |
2 |
4 |
6 |
ประถมศึกษาปีที่ 2 |
3 |
5 |
8 |
ประถมศึกษาปีที่ 3 |
4 |
4 |
8 |
ประถมศึกษาปีที่ 4 |
5 |
4 |
9 |
ประถมศึกษาปีที่ 5 |
5 |
3 |
8 |
ประถมศึกษาปีที่ 6 |
5 |
3 |
8 |
รวมชั้นประถมศึกษา |
23 |
23 |
46 |
รวมนักเรียนทั้งหมด |
32 |
39 |
71 |
5.ชื่อผู้บริหาร ครูใหญ่/เบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้
ร.ต.อ.สมพงค์ พันธ์ดี โทร 098-7108109
6.ข้อมูลจำนวนครูและบุคลากรในโรงเรียน
ครู ตชด. ๗นาย ผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน ครูโครงการ รร.คู่พัฒนา 1 คน
7.ข้อมูลโครงการพระราชดำริที่สำคัญในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว
1.โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ความเป็นมา
เป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2523 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันทำการเกษตรในโรงเรียน แล้วนำผลผลิตที่ได้ มาประกอบเป็นอาหารกลางวัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงิน สิ่งของ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตร และอุปกรณ์การประกอบอาหารให้แก่โรงเรียนในโครงการ การดำเนินงานของโครงการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันแล้ว ยังทำให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้ด้านโภชนาการและด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ บริโภคตลอดปีการศึกษาโดยใช้ผลผลิตการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร
กิจกรรมที่สำคัญ
- 1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
- 2. ผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ทั้งเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง พืชผักและผลไม้ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่นโดยเฉพาะกล้วยและมะละกอ โดยใช้รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานและชีววิธี ให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียน
- 3. ส่งเสริมการถนอมอาหารที่มีเหลือใช้ เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูขาดแคลน
- 4. ประกอบอาหารกลางวันและอาหารเสริมที่มีคุณค่า และถูกสุขลักษณะ
- 5. เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ รวมทั้งการตรวจสุขภาพและปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียนและของชุมชน
- 6. จัดการเรียนการสอนเรื่องการเกษตรและโภชนาการในโรงเรียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ
2.โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงปัญหาการระบาดของโรคคอพอกเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีน ทั้งจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข และจากการที่พระองค์ทรงพบเห็นในระหว่างเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จึงมีพระราชดำริที่จะดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ โดยคาดหวังว่า หากมีการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องแล้ว ก็จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศโดยส่วนรวมได้
วัตถุประสงค์ เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ทุรกันดาร
กิจกรรมที่สำคัญ
1.หยดน้ำเสริมไอโอดีนให้นักเรียนดื่มเป็นประจำทุกวัน
2.แจกเกลือไอโอดีนให้นักเรียนไปประกอบอาหารที่บ้าน
3.ร่วมมือกับสาธารณสุขในพื้นที่ตรวจโรคคอพอกและให้ความรู้แก่ประชาชน
3.โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงห่วงใย เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารและได้โปรดเกล้าฯให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฉบับแรกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการทำงานพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ได้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๙) เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชนผลักดันให้สถานศึกษาพัฒนาเป็นศูนย์บริการความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้กับผู้ปกครองชุมชน
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 สมเด็จพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดการประชุม และ มีพระราชดำรัส ความว่า “สุขภาพของเด็กและเยาวชน เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ...ควรได้รับการดูแลทั้งด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียน และมีความคิดเห็นอันเหมาะควร ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ควรจะต้องช่วยกันประคับประคองดูแล เช่น ในด้านสุขอนามัย การรักษาพยาบาล โภชนาการ เป็นที่ปรึกษาแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จะช่วยทางด้านจิตใจ ที่สำคัญจะต้องดูแลให้ทั่วถึงไปจนถึงเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมากในถิ่นทุรกันดาร เด็กและเยาวชนเหล่านี้ หากได้รับการดูแลให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ในภายภาคหน้า จะสามารถเป็นกำลังช่วยเหลือครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี....”
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กทารกแรก
เกิดจนถึง 3 ปี ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้รับบริการที่เหมาะสมและได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ
กิจกรรมที่สำคัญ ร่วมกับ จนท.อนามัย ในพื้นที่ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอนามัยแก่หญิงมีครรภ์ และ สสน. อาหารเสริม วิตามิน ให้กับหญิงมีครรภ์
4.โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
ความเป็นมา เป็นโครงการที่ดำเนินการขี้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งประสบกับความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาการอย่างดี พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้เท่าเทียมกับคนอื่นๆ และช่วยให้ครูโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งไม่ได้มีอาชีพครูโดยตรงทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน
กิจกรรมที่สำคัญ ปรับปรุงอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เกื้อหนุนในการเรียนการสอน, จัดกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน , พร้อมให้นักเรียนศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
5.โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
ความเป็นมาของทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์
ความเป็นมาของทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเริ่มดาเนินการเมื่อปีพ.ศ. 2531 ส่งเสริมให้นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับแต่ขาดโอกาสในการศึกษาต่อเนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนได้มีโอกาสศึกษาในระดับสูงขึ้นเพื่อให้มีความรู้ทักษะและประสบการณ์สาหรับใช้ในการประกอบอาชีพและนากลับไปพัฒนาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนจากโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นตาม
ความสามารถและความเหมาะสมตามระดับสติปัญญา
- เพื่อให้นักเรียนจากถิ่นทุรกันดารสามารถนาความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองให้มีความ
เจริญก้าวหน้าต่อไป
- เพื่อปลูกฝังและพัฒนานักเรียนโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้เห็นคุณค่าของการศึกษาความ
สำนึกในความเป็นคนไทยมีความรักถิ่นฐานรักประเทศและรักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข
- เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนตามโรงเรียนใน
ถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญก้าวหน้าทั่วกัน
กิจกรรมที่สำคัญ คัดเลือกนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 เข้าเป็นนักเรียนพระราชานุเคราะห์
6.โครงการฝึกอาชีพ
ความเป็นมา เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอาชีพให้กับศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ไม่อาจศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และเน้นให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ ในระยะเริ่มแรกให้จัดทำในโรงเรียนทดลองก่อนภาคละ ๑ โรง โดยมีกรมอาชีวศึกษา(ขณะนั้น) รับไปสนองพระราชดำริฯ
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
๒. เพื่อให้เยาวชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมีวิชาชีพติดตัวและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
กิจกรรมสำคัญ
๑. ฝึกทักษะและความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน
๒. ส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น
๓. ส่งเสริมความร่วมมือจากภาคเอกชน
๔. ดำเนินงานฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
7.โครงการส่งเสริมสหกรณ์
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่า การปลูกฝังสหกรณ์แก่เด็กและเยาวชน โดยเริ่มจากโรงเรียนเป็นอันดับแรก จะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในกลุ่มของเด็กนักเรียน ตลอดจนครูและประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การรวมกลุ่มกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมตำรวจ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภู่ต่าง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ให้ดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ ให้ส่งเสริมวิธีสหกรณ์ให้แพร่หลายไปยังเด็กนักเรียน จึงได้เริ่มดำเนินโครงการการส่งเสริมสหกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมางการส่งเสริมสหกรณ์
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะด้านสหกรณ์และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์ให้แก่เด็กนักเรียน
กิจกรรมที่สำคัญ
๑. จัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์
๒. จัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ภาคปฏิบัติ เช่น กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมการเกษตร เพื่อเป็นการฝึกทักษะของนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน
๓. จัดให้มีการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสหกรณ์ตัวอย่าง
8.โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ มีพระราชดำริให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนของโครงการฯ เริ่มตั้งแต่การทำหลักสูตร การฝึกอบรมครูผู้สอน การจัดหาสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ รู้คุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เช่น ป่าไม้ถูกทำลาย พิษภัยของควันไฟ จากการเผาป่า การเรียนรู้ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลน เช่น ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนํ้าแดง จังหวัดจันทบุรี เรียนรู้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในการช่วยอนุรักษ์ดินและนํ้า การอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุกรรมพืช เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังทรงให้มีการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนให้ตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกัน และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตน
วัตถุประสงค์ เพื่อปลูกฝังให้เด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชนในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่สำคัญ จัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมใน ร.ร. , ให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยสาธิตและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก
ภาพอาคารเรียน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
โครงการฝึกอาชีพ
โครงการส่งเสริมโภชนาการสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
ภาพการเสด็จฯ
แผนที่ รร.ตชด.บ้านเขาจ้าว