Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel

ประวัติ

    ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นตำรวจหน่วยหนึ่งในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่การปฏิบัติหน้าที่มีความแตกต่างกับตำรวจหน่วยอื่นคือต้องตระเวนตรวจพื้นที่ตามแนวชายแดนจึงมีหน้าที่เสมือนรั้วของชาติและเป็นแนวป้องกันด่านแรกในการปกป้องอธิปไตยของชาติไทย  ทำให้ได้พบเห็นประชาชนผู้เดือดร้อนเกี่ยวกับการครองชีพ   และโรคภัยไข้เจ็บจำนวนมาก จึงได้ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะสามารถช่วยได้  เช่น   แจกอาหาร เสื้อผ้าให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย แนะนำการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังได้พบเห็นหมู่บ้านต่างๆ มีเด็ก ซึ่งอยู่ในวัยเรียนเป็นจำนวนมากยังไม่ได้เรียนหนังสือเนื่องจาก  หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบด้านการศึกษาไม่สา   มารถ    เข้าไปจัดตั้งโรงเรียนได้เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าเขาทุรกันดาร   และบางพื้นที่มีสถานการณ์ก่อการร้าย ของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลดังนั้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๘ จึงได้คิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นสอนหนังสือให้แก่ชาวเขาเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รู้ภาษาไทย จะได้ติดต่อทำความเข้าใจกันได้สะดวกและเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้และวิทยาการ  ในการพัฒนาความเป็นอยู่ตลอดจนทำให้เกิดความมั่นคง   ในด้านการปกครองอีกด้วย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  ที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบ  ของกระทรวงศึกษาธิการได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ที่หมู่บ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เปิดทำการสอน  เมื่อวันที่  ๗ มกราคม  พ.ศ.๒๔๙๙  ซึ่งใช้ชื่อว่า  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่  ๑  การจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ ในระยะเริ่มแรกไม่มีงบประมาณสนับสนุน ครูก็ต้องใช้ตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนก็เป็นเด็กยากจนไม่มีเงินที่จะจัดซื้อหนังสือ สมุด ดินสอ เด็กเหล่านี้จึงได้รับแจกหนังสือ และอุปกรณ์การเรียนจาก ผู้มีจิตเมตตาบริจาคผ่านตำรวจตระเวนชายแดน

 

bbps
 
 bbps
 

   นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นต้นมาการดำเนินการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้รับพระมหากรุณาธิ คุณเป็นล้นพ้นจาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่ตำรวจตระเวนชายแดน สำหรับจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นในพื้น  ที่ภาคเหนือคือโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์และโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์อีกทั้งในปี พ.ศ.๒๕๐๗ สมเด็จ พระราชชนนีศรีสังวาลพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้พระราชทานการสนับสนุนและทรงอุปถัมภ์การดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอย่างกว้างขวาง โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินที่มีผู้บริจาคถวาย   โดยเสด็จพระราชกุศลนำไปจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและจะเสด็จฯ  ไปทรงเปิดโรงเรียนด้วยพระองค์เองทุกแห่ง อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชนตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลืออีกส่วนหนึ่งด้วยกิจการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจึงได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ

 

bbps
 

   จากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   สยามบรมราชกุมารี   ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเยี่ยมเยียนราษฎร ได้ทรงทราบว่าเยาวชนในชนบทส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาทุพโภชนาการปัญหาด้านสุขภาพอนามัย  ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาด้านการศึกษาเพราะเมื่อเด็กเยาวชนมีสุขภาพไม่ดีก็ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาได้ดีจึงมีพระราชดำริให้จัดทำโครง การเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโดยให้เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๒๓  ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่าเด็กนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดจาก  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  แล้วแทบไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึก ษาต่อในระดับที่สูงต่อไปได้เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน   และขาดทุนทรัพย์ที่จะสนับสนุนได้กอปรกับมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหากต้องการที่จะศึกษาต่อก็ต้องเดินทางเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาของอำเภอ หรือจังหวัด ซึ่งก็จะประสบกับปัญหาในเรื่องที่พักอาศัย  จึงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเด็กนักเรียนเหล่านี้โดยได้พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี  มีสติปัญญาที่จะศึกษาต่อไปได้ให้ได้รับการศึกษาต่อจนถึงขั้นสูงสุดตามระดับสติปัญญา  ความสามารถ  และความเหมาะสม   ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาต่อไปได้รวมทั้งพวกที่ไม่มีสัญชาติก็มีพระราชประสงค์    ให้ฝึกอาชีพที่สามารถใช้ได้ในท้องถิ่นนั้นจากจุดเริ่มต้นดังกล่าวจนถึงปัจจุบันจึงได้มีโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกิดขึ้นทั้งสิ้น ๘ โครงการ ได้แก่ 
   ๑ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 
   ๒ โครงการส่งเสริมสุขภาพการศึกษา 
   ๓ โครงการฝึกอาชีพ 
   ๔ โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
   ๕ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน 
   ๖ โครงการส่งเสริมสหกรณ์ 
   ๗ โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก 
   ๘ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
   ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐรวม ๑๐ หน่วยงาน คือ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  กรมอนามัย  กรมควบคุมโรค  สถาบันอาชีวะ  มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

bbps
 

   เพื่อให้เด็กเยาวชน  และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร  และด้อยโอกาสทางการศึกษาได้รับโอ  กาสเช่นเดียวกับเด็กนักเรียนในเขตเมือง หรือเขตชนบท กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้พัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่สำหรับการให้การศึกษาเด็ก เยาวชนตามแนวชายแดน และถิ่นทุรกันดาร โดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  คือเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดโอกาสของเด็กและ  เยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ไกลคมนาคม   หรือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหา  ด้านความมั่นคงให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงเสมอภาค  และมีคุณภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๔๕ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและในช่วงเวลานั้นเองสมเด็จพระเทพรัตนราช  สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานคำแนะนำว่า  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  ควรกำหนดปรัชญาให้ชัดเจนเพื่อ   ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ   โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  อย่างแท้จริงกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจึงได้กำหนดปรัชญาของโรงเรียนขึ้นว่า “สร้างภูมิปัญญา  พัฒนาคุณภาพชีวิตสัมฤทธิผลความมั่นคง”  ซึ่งสะท้อนบทบาทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  ที่สำคัญ ๓ ประการ คือบทบาทเป็นสถานศึกษาบทบาท เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และบทบาทเป็นหน่วยรักษาความมั่นคงปลอด ภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน

   ผลจากการพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและองค์กรทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับรางวัลเกียรติยศด้านการรู้หนังสือของสมาคมการอ่านระหว่างประเทศประจำปี ๒๕๓๒ จากองค์การยูเนสโก ในผลงานเรื่อง“บทบาทของตำรวจตระเวนชายแดน ในการจัดการศึกษาแก่ชาวเขา และประ ชาชนไกลคมนาคม”  (The Role of Border  Patrol Police in  The Education Programs  for  Highland Minorities and  People in Remote Areas)  เมื่อ  ๘  กันยายน  พ.ศ.๒๕๓๒  และได้รับโล่รางวัล  จากการประกวดผลงานในประเทศ รางวัลหน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาการพัฒนาสังคม  (ด้านการศึกษา)  ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๙ จากคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรี  ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอันจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงของชุมชน และประเทศชาติ  ในปี พ.ศ.๒๕๕๗  มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั้งหมด ๑๙๖ โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ๑๖๑ โรงศูนย์การเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา) ๓๑  แห่งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขยายโอกาส ๒ โรงและโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอีก ๒ โรง (สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒๕๕๘: ๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ๒๕๕๖: ๗๓ - ๙๑)